30 เมษายน 2552

พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเรียกที่ชุมนุมของตนว่า มหาวิทยาลัยราชดำเนิน ซึ่งมีกิจกรรมที่ให้ความรู้ต่าง ๆ มากมายแก่ผู้เข้าร่วมชุมนุม เสมือนการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยแสดงความเห็นว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี การเมืองใหม่ ในประเทศไทย ซึ่งเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอย่างแท้จริง โดยมีเป้าหมายดังนี้
1. ปกป้องเทิดทูนราชวงศ์จักรีให้เข้มแข็งและปลอดภัย เนื่องจากพระมหากษัตริย์ทรงทศพิศราชธรรม
2. สนับสนุนให้คนดีมาปกครองบ้านเมือง ป้องกันไม่ให้คนไม่ดีมีอำนาจ เพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคมทุกภาคส่วน ทั้งในด้าน เศรษฐกิจ การเมือง และสังคม
3. ประชาชนมีส่วนร่วมในทางการเมือง การเมืองใหม่จะไม่จำกัดอยู่เพียงนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งในพื้นที่เท่านั้น แต่จะยังเปิดกว้างให้ภาคประชาชนที่หลากหลาย ได้มีส่วนร่วมทางการเมืองทุกระดับ เช่น ผู้แทนจากกลุ่มวิชาชีพต่าง ๆ ผู้แทนจากภาคประชาชนที่หลากหลาย ผู้แทนจากภาคสังคมที่แตกต่าง ฯลฯ
4. พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยพร้อมสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงอำนาจทางการเมืองในปัจจุบัน บนเงื่อนไขที่จะต้องปฏิรูปการเมืองโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง

สาเหตุที่นำมาสู่การชุมนุม

1. เมื่อพรรคพลังประชาชน ได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาอย่างชัดเจนว่า จะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 237 และ มาตรา 309 ทำให้ทางกลุ่มพันธมิตรฯ เกิดความเคลือบแคลงสงสัยว่าจะเป็นการช่วยให้ ทักษิณ ชินวัตร พ้นผิดจากคดีทุจริตต่างๆ จึงแสดงท่าทีคัดค้านอย่างชัดเจน
2. ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ที่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เคยทำเอาไว้ เช่น การใช้ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ประชาชนในพื้นที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ต้องหาบางคนไม่ได้ถูกนำตัวไปขึ้นศาล เพราะเจ้าหน้าที่ของรัฐใช้ความเป็นศาลเตี้ยมาตัดสินปัญหา ส่งผลให้ญาติพี่น้องของผู้ตายเกิดความโกรธแค้น เพราะไม่ได้รับความเป็นธรรม และได้ส่งลูกหลานของตนไปฝึกฝนการก่อการร้าย จึงเป็นสาเหตุหลักที่นำไปสู่ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย นโยบายการปราบปรามยาเสพติดแบบฆ่าตัดตอน ที่มีผู้เสียชีวิตแบบปริศนาประมาณ 2,700 กว่าศพ ฯลฯ
3. ปัญหาการทุจริตต่างๆ เช่น สนามบินสุวรรณภูมิ, บ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน, เมกะโปรเจ็กต์, กล้ายาง, ลำไย ฯลฯ
ภายหลังจากที่พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร เดินทางกลับมายังประเทศไทยในปีดังกล่าว ซึ่งพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้นัดชุมนุมกันอีกครั้ง ให้เหตุผลว่าคำสั่งโยกย้ายอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา อาจเป็นการแทรกแทรงกระบวนการยุติธรรมของฝ่ายบริหาร เพื่อเอามาช่วยให้พรรคพวกของตนทำอะไรก็ได้ตามใจชอบ เพื่อผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องกับทั้งเพื่อเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องดำเนินคดีกับพันตำรวจโททักษิณในฐานะผู้ต้องหาตามหมายจับโดยยึดหลักปฏิบัติเดียวกันกับคุณหญิงพจมาน ชินวัตรที่กลับมายังประเทศไทยก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ ยืนยันว่าจะไม่มีการใช้ความรุนแรงในระหว่างการชุมนุมครั้งนี้
4. คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีมติตัดสินให้ นายยงยุทธ ติยะไพรัช ได้ใบแดงเนื่องมาจากการซื้อเสียง มีโทษสูงสุดคือยุบพรรคและตัดสิทธิ์ทางการเมืองของกรรมการบริหารพรรค 5 ปี พร้อมทั้งส่งเรื่องขึ้นไปยังอัยการสูงสุด และอัยการสูงสุดสั่งฟ้องเนื่องจากคดีมีมูล ขณะนี้คดีอยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญซึ่งยังไม่มีคำวินิจฉัยออกมา


5. พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ยังเรียกร้องให้รัฐบาลปราบปรามขบวนการล้มล้างทั้งสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยที่ผ่านมามีขบวนการโจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์มาอย่างต่อเนื่อง เช่น กลุ่มนปช. ไปบุกบ้านสี่เสาเทเวศน์ ของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เพื่อขับไล่ให้ออกจากตำแหน่งประธานองคมนตรี และจาบจ้วงอย่างเสียหาย เรื่องนี้ทางสนธิ ลิ้มทองกุล กล่าวว่า เป็นการ "ตีวัวกระทบคราด", นายจักรภพ เพ็ญแข กล่าวแสดงปฐกถาในเรื่อง "ระบบอุปถัมป์ในสังคมไทย" ต่อสมาคมผู้สื่อข่าวแห่งประเทศไทยและที่ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา ซึ่งพันธมิตรฯ บอกว่าเป็นการเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ , น.ส.ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล ขึ้นเวที นปช.ที่ท้องสนามหลวง หมิ่นพระบรมเดชานุภาพอีกเช่นเดียวกัน, นิตยสาร "ฟ้าเดียวกัน" ที่นำพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นหน้าปกเป็นลักษณะของคนยืนเหมือนในเหล้ายี่ห้อ "แบล็ก เลเบิ้ล" แต่สิ่งที่พันธมิตรเรียกร้องมาทั้งหมดนี้กลับไม่ได้รับความสนใจจากทางฝ่ายรัฐบาลเลย
6. ส่วนประเด็นใหญ่ของการชุมนุมอีกประเด็นหนึ่งคือ เมื่อครั้งที่นายนพดล ปัทมะ ยังดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ อยู่นั้น ได้ไปแอบตกลงร่วมกับประเทศกัมพูชา ทั้งๆที่ไม่ยอมเปิดเผยแผนที่ทับซ้อนบริเวณ เขาพระวิหารให้กับประชาชนคนไทยได้รับรู้ อย่างเพียงพอจึงทำให้ประชาชนทั่วประเทศเกิดความเคลือบแคลงใจ ต่างเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ดังนั้น พันธมิตรฯ จึงเคลื่อนขบวนไปชุมนุมหน้ากระทรวงการต่างประเทศ เพื่อยื่นหนังสือทวงถามกรณีข้อพิพาทเรื่องเขาพระวิหาร เนื่องจากและหวงแหนแผ่นดินไทย เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่กระทบต่อหัวใจคนไทยทั้งประเทศ ในวันพุธที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2551 เวลา 10.00 น.
7. ในเวลา 14.00 น. ของวันเดียวกันนั้น นายนพดล ปัทมะ ได้แอบไปลงนามยินยอมให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียว ร่วมกับ นายอึง เซียน เอกอัครราชทูตกัมพูชา และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและเป็นที่น่าสังเกตว่า พอหลังจากที่นายนพดลลงลงนามเพียงไม่กี่วัน นายนพดลรีบลาออกทันที


ระบอบทักษิณ
- การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะ ปตท. และ กฟผ.
สำหรับ ปตท. เช่น เรื่องการกระจายหุ้นที่ไม่เป็นธรรม ราคาขายหุ้นที่ต่ำกว่าความเป็นจริงมาก สัดส่วนการถือหุ้นของรัฐที่ลดลงมาก การถือหุ้นผ่านกองทุนของต่างชาติ กำไรจากการขายก๊าซให้ กฟผ. ในราคาสูง
- การแปรรูป กฟผ. นั้นมีคำสั่งจากศาลปกครองว่าพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2548 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
- การแก้สัมปทานสถานีโทรทัศน์ไอทีวี
- การคอรัปชั่นในโครงการสนามบินสุวรรณภูมิ โดยเฉพาะเรื่องเครื่องสแกนสัมภาระซีทีเอกซ์
- การทำพิธีเป็นประธานในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
- การแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราชซึ่งขณะนั้นทรงพระประชวร
- การขายหุ้นในบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นเจ้าของสัมปทานโทรศัพท์มือถือ, ดาวเทียมไทยคม, สถานีโทรทัศน์ไอทีวี และสายการบินแอร์เอเซีย ให้กับ เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ (กองทุนเพื่อการลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์) โดยซื้อขายในตลาดหุ้นทำให้ไม่ต้องเสียภาษี
- การใช้อำนาจรัฐแทรกแซงและคุมคามสื่อ
- การทุจริตข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย
- กรณีการซื้อที่ดินรัชดา ของภรรยา เป็นผลให้ ศาลฎีกาแผนกคดีการเมือง ตัดสิน จำคุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2551
การหนีหมายจับกุม หนีคดีอีก 3-4 คดี ที่ฟ้องไม่ได้ ถ้าไม่มีจำเลย แสดงถึงความไม่ชอบธรรม ไม่กล้าสู้คดี

ข้อมูลภาพจากวิกิพีเดีย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น