17 พฤษภาคม 2552

อาลัยยิ่ง 7 ตุลา 51

ขอแสดงความเสียใจเป็นอย่างยิ่ง กับครอบครัวผู้เสียชีวิต พิการ และบาดเจ็บจากการชุมนุม เราขอเชิดชู ยกย่อง และสดุดีผู้ที่เสียสละชีวิต พิการ และบาดเจ็บเพื่อปกป้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่ง ชาติ ราชบัลลังก์ และรัฐธรรมนูญ ทั้งในสถานที่ชุมนุมและนอกสถานที่ชุมนุม ให้เป็น “วีรชน” ที่จะถูกจารึกอยู่ในประวัติศาสตร์และในจิตใจของพวกเราตลอดไป โดยมีรายนามวีรชนผู้เสียชีวิตดังต่อไปนี้

1. นางสาวอังคณา ระดับปัญญาวุฒิ ผู้ชุมนุมอย่างสงบและปราศจากอาวุธ เสียชีวิตอันเนื่องมาจากเหตุการณ์เจ้าหน้าที่รัฐใช้อาวุธทำร้ายเข่นฆ่า ประชาชนจากบริเวณหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล ในคืนวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551

2. พันตำรวจโท เมธี ชาติมนตรี การ์ดอาสาของพันธมิตรเสียชีวิตจากการถูกฆาตกรรมและถูกทำลายหลักฐานด้วยการ ระเบิดรถ ในสถานการณ์ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจเข่นฆ่าทำร้ายประชาชนในการสลายการชุมนุมที่ หน้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551

3. นายสมเลิศ เกษมสุข ผู้ชุมนุมและผู้ประสานงานแท็กซี่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้เข้าร่วมชุมนุมมาอย่างยาวนาน และได้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจในที่ชุมนุมบริเวณ ถนนพิษณุโลก ข้างทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2551

4. นายเจนกิจ กลัดสาคร ผู้นั่งฟังการปราศรัยบนเวทีอย่างสงบและปราศจากอาวุธ เสียชีวิตเนื่องจากถูกอาวุธสงครามประเภทระเบิด M-79 ยิงมาจากภายนอกสถานที่ชุมนุมเข้ามาทะลุเต้นท์ผ้าใบในทำเนียบรัฐบาล เมื่อคืนวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

5. นายยุทธพงษ์ เสมอภาพ การ์ดอาสาที่กำลังทำหน้าที่แจกน้ำและอาหารให้กับสารวัตรทหารบริเวณสี่แยก มิสกวัน เสียชีวิตเนื่องจากคนร้ายฝ่ายรัฐบาลนั่งมอเตอร์ไซค์ยิงอาวุธสงครามประเภท ระเบิด M-79 จากริมรั้วกองบัญชาการตำรวจนครบาลเข้ามาในพื้นที่ชุมนุม เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

6. นายเศรษฐา เจียมกิจวัฒนา บิดาของแกนนำกลุ่มทหารเสือพระราชา ซึ่งเป็นกลุ่มแนวร่วมที่จัดรายการวิทยุชุมชน ซึ่งถ่ายทอดสดภาพและเสียงของการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จังหวัดเชียงใหม่ ถูกกลุ่มอันธพาลของรัฐบาล 50 คนใช้ปืน มีด และใช้ท่อนเหล็กรุมทำร้ายร่างกายจนเสียชีวิตเมื่อคืนวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

7. นางสาวกมลวรรณ หมื่นหนู ผู้นั่งฟังการปราศรัยบนเวทีอย่างสงบและปราศจากอาวุธอยู่ที่ทำเนียบรัฐบาล เสียชีวิตเนื่องจากคนร้ายฝ่ายรัฐบาลได้ยิงอาวุธสงครามประเภทระเบิด M-79 ยิงมาจากภายนอกสถานที่ชุมนุมเข้ามาทะลุเต้นท์ผ้าใบ เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

8. นายรณชัย ไชยศรี ผู้ชุมนุมอย่างสงบและปราศจากอาวุธที่สนามบินดอนเมือง เสียชีวิตเนื่องจากมีคนร้ายฝ่ายรัฐบาลได้ยิงอาวุธสงครามประเภทระเบิด M-79 ยิงมาจากบริเวณทางด่วนเข้ามาในสถานที่ชุมนุมในขณะที่ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่กำลัง นอนหลับอยู่ในเวลากลางคืนของวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2551

9. น.ส.ศศิธร เชยโสภณ หรือ ติ๊ก การ์ดอาสาฯ ประสบอุบัติเหตุตกจากรถยนต์ปิกอัพ ขณะทำขนของออกจากทำเนียบรัฐบาล ศีรษะฟาดพื้น ต้องเข้ารักษาตัวในห้องไอซียู โรงพยาบาลมิชชั่น จนเมื่อวันที่ 6 ธ.ค.น้องติ๊กได้เสียชีวิตลงอย่างสงบ ท่ามกลางความโศกเศร้าเสียใจของญาติมิตรและเพื่อนการ์ดอาสาพันธมิตรฯ
สำหรับ น.ส.ศศิธร เชยโสภณ หรือ ติ๊ก อายุ 32 ปี มีอาชีพเป็นพนักงานต้อนรับที่โรงแรมแห่งหนึ่งย่านอุรุพงษ์ ร่วมทำหน้าที่การ์ดอาสา สังกัด สน.พันธมิตร ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา โดยเป็นเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์สั่งการเคลื่อนที่ ในปฏิบัติการดาวกระจายหลายครั้ง ดูแลข้อมูลการออกบัตรผ่านพื้นที่ควบคุมชั้นในของทีมงานและแกนนำ รวมทั้งช่วยดูแลจัดการด้านที่พักให้กับแกนนำ และผู้ปราศรัยบนเวทีพันธมิตรหลายคน







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น